Last updated: 30 ก.ค. 2561 | 8696 จำนวนผู้เข้าชม |
ช่วงเดือน 9-10 ของทุกปี ก็จะถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ที่ชาวจีนเรียกกันว่า "เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง (中秋节)" ซึ่งในปีนี้ก็ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคมค่ะ ตามธรรมเนียมโบราณนี่คือช่วงเวลาที่ฮ่องเต้จะทรงทำการบวงสรวงพระจันทร์ และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในเทศกาลนี้ก็คือขนมไหว้พระจันทร์นั่นเอง วันนี้เราขอเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับของโปรดของหลายคนมาแบ่งปันจ้ะ
1. ขนมไหว้พระจันทร์ ในภาษาจีนเรียกว่า เยว่ปิ่ง (月饼) เยว่ หมายถึงพระจันทร์ ปิ่ง มักหมายถึงอาหารทำจากแป้งที่มีลักษณะเป็นแผ่น แต่บางทีก็รวมถึงก้อนแป้ง คำนี้ก็คือ "เปี๊ยะ" ในภาษาแต้จิ๋วนั่นเอง
รูปจาก http://zhongqiujie.baike.com/article-56331.html
3. ขนมไหว้พระจันทร์ตำรับภูมิภาคอื่นอาจมีหน้าตาต่างออกไป แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นลูก ๆ เหมือนกัน นอกจากนี้ บางที่ยังทำไส้เป็นของคาวเลยก็มี อย่างแถวยูนนานที่ขึ้นชื่อเรื่องแฮมรมควัน ก็เป็นไส้แฮมกับน้ำผึ้ง ส่วนทางใต้ที่ถือว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ ไส้ไก่ เป็ด เห็ด หรือหมูสับก็มีนะ
4. ไส้แบบดั้งเดิมที่ความหมายเป็นมงคลคือเม็ดบัว ถั่วแดง พุทราจีน และโหงวยิ้ง (ถั่ว 5 ชนิด) แทรกด้วยไข่เค็ม แต่ในยุคนี้ ไส้เริ่มครีเอทีฟมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่นไส้ชาเขียว ไส้ไอติม ไส้ทุเรียน แถมได้ข่าวว่าปีนี้มีคนช่างคิดทำไส้กุ้งเครย์ฟิชสุดโปรดของชาวจีน ทำเอาเราอยากไปชิมกับเค้าด้วย
ขายกันเป็นเบเกอรี่จริงจัง
5. อุตสาหกรรมขนมไหว้พระจันทร์ในฮ่องกงเฟื่องฟูมาก เพราะครอบครัวและธุรกิจคู่ค้าต่าง ๆ จะต้องซื้อฝากหรือมอบให้กันเป็นธรรมเนียม จนปีหนึ่ง ๆ มีขนมไหว้พระจันทร์โดนโละทิ้งปริมาณมหาศาล กลายเป็นปัญหาใหญ่ไปอีก
6. ที่แผ่นดินใหญ่ก็ไม่แพ้กัน ในเบเกอรี่จะวางขายแบบให้เลือกหยิบเป็นชิ้น ส่วนตามซุุปเปอร์มาร์เก็ตและโรงแรมก็ตั้งซุ้มเรียงกล่องกันเอิกเกริก ราคานั้นไม่ธรรมดา ชิ้นย่อม ๆ ที่เราเห็นในเบเกอรี่ตกชิ้นละ 7 หยวน ส่วนไซส์มาตรฐานที่จัดใส่กล่องสวยงาม 8 ชิ้นมีให้เลือกตั้งแต่ราคา 200-500 หยวน
7. มีคนคำนวณให้ว่า ขนมไหว้พระจันทร์ 100 กรัมให้พลังงานสูงถึงเกือบ 1,000 แคลอรี รู้อย่างนี้แล้วก็แบ่งให้ครอบครัวและคนที่เรารักกินด้วย จะได้สมกับความหมายที่ซ่อนอยู่ในรูปทรงกลม ๆ ของขนม ที่หมายถึงการรวมตัวกันพร้อมหน้าพร้อมตาค่ะ
17 ส.ค. 2563
15 ก.ย. 2562
3 ก.ย. 2561